6 อาการสัญญาเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

6 อาการสัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม” “ข้อเข่าเสื่อม” เป็นอาการที่ผู้สูงอายุในไทยค่อนข้างจะเผชิญหน้า ด้วยกิจวัตรและวัฒนธรรมการทานอาหารด้วย ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมาได้ และวิธีที่จะสามารถสังเกตว่า โรคนี้เข้ามาถึงตัวเรารึยัง ให้สังเกตอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวมหรือเบี้ยวผิดรูป มีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อมีการหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อรู้สึกถึงการเสียดสี หรือมีเสียงดังในข้อกระดูก ปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อเข่า มีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับและมีอาการปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด ด้วยอาการเหล่านี้เอง จะเป็นข้อสังเกตให้พึงระมัดระวังตัวว่า อาจเข้าข่ายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วหรือไม่ ความเจ็บปวดของโรคนี้จะส่งผลให้การดำเนินชีวิตเต็มไปด้วยความลำบาก การเดินขึ้นลงบันไดก็ทำได้ยากขึ้น รวมถึงการเดินเองก็เดินได้น้อยลง แต่ความสามารถของการเคลื่อนไหวนี้สามารถ ดูแลและบำรุงให้กลับมาเดินอย่างมั่นคงได้  ด้วยการรักษา IPM Program ที่ใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัดชำนาญการในการรักษา ผนวกเข้ากับการรักษาด้วย PRP กล่าวคือการใช้เกล็ดของตัวคนไข้มารักษาบริเวณที่เจ็บปวด เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมฟื้นฟูของข้อเข่า ที่นอกจากจะให้หายเจ็บแล้ว ก็ยังสามารถกลับมาเดินได้ปกติอีกด้วย หากมีปัญหาเหล่านี้กวนใจ ติดต่อ Kloss Clinic

4 วิธีชะลอข้อเข่าเสื่อม

4 วิธีชะลอข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมถือเป็นความโชคร้ายของชีวิต ที่อาจทำให้ประสบกับความลำบากในการเดิน การทำกิจวัตรที่ต้องใช้ขา ทุกอย่างจะยากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นจุดจบซะเมื่อไหร่ เพราะถึงเป็นข้อเข่าเสื่อมหรือมีแนวโน้มแล้ว ก็ยังมีแนวทางการดูแล และการบำรุงเพื่อให้เราอยู่ในรูปแบบที่ดีที่สุดของตัวเราเองได้เสมอ เริ่มจากปรับสิ่งต่างๆ เพื่อชะลอโรคร้ายนี้ให้มาถึงเรายากที่สุด สร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง​ สร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เช่นเดินเร็ว แอโรบิก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ไม่ควรออกกำลังกายที่ที่ใช้แรงกระแทกต่อเข่า เช่น การกระโดด การวิ่ง ควบคุมน้ำหนักให้พอดี​ รักษาน้ำหนักไม่ให้เกินค่ามาตรฐานเพื่อลดแรงกดภายในข้อ ที่รับน้ำหนักเพิ่มขึ้น ตามน้ำหนักตัว ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่​ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมสร้างกระดุกด้วยอาหารที่มี แคลเซียม วิตามิน D เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆ​ ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง นั่งพับเพียบ, ขัดสมาธิ เป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อ สลับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ IPM Program เองก็มีให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแก่คนไข้ที่มีปัญหาโรคไข้ข้อเหล่านี้เช่นเดียวกัน ทั้งการลดน้ำหนักเพื่อน้ำหนักจะไม่กระทบข้อเข่ามากเกินไป ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ที่ให้คำปรึกษาจากแพทย์โดยตรง

อาหารกับโรค ข้อเข่าเสื่อม

อาหารกับโรคข้อเข่าเสื่อม อาหารเป็นส่วนสำคัญอย่างนึงที่มีผลต่อโรคภัยต่างๆที่เกิดขึ้น บางอย่างทานได้ แต่บางอย่างก็ไม่แนะนำให้ทาน เหตุผลส่วนใหญ่คือส่วนผสมของอาหารเหล่านั้นมีบางส่วนที่อาจเป็นพิษกับอาการที่เราเป็น อาการของโรคเองก็สามารถแย่ลงด้วยเหตุผลเหล่านี้ อาหารช่วยชะลอเข่าเสื่อม​ จะแบ่งไปตามสารที่ประกอบอยู่ในอาหารเหล่านั้น สารเรสเวอราทรอล เช่น น้ำองุ่น ช็อกโกแลต ถั่ว สารเทอโรซิน บี เช่น ผักกูดเกี๊ยะ สารฮิจิเกีย ฟิวซิฟอร์เม เช่น สาหร่ายสีน้ำตาล อีกทั้งน้ำทับทิมก็ดีเช่นเดียวกัน อาหารที่ควรจำกัดเพื่อป้องกันโรคเข่าเสื่อม ไขมันอิ่มตัว เช่น เนยและน้ำมันปาล์ม วิตามินซี เช่น ฝรั่ง คะน้า ส้มและมือเขือเทศ อาหารที่ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงส่วนนึงและส่วนสำคัญที่ควรทำตามหากต้องการชะลอจากโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ แต่อาหารก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ได้ช่วยชะลอข้อเสื่อมได้ ยังมีเรื่องของการออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด การได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง Kloss Clinic เป็นศูนย์รักษาข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับมาตรฐานและมีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้เป็นพิเศษ ฉะนั้นคนไข้สามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับการดูแลที่ตรงจุดและแก้ไขข้อเข่าได้อย่างแน่นอน ที่ Kloss Clinic

ใครบอกว่าวิ่ง.. แล้วจะดีจริงเสมอไป?

ใครบอกว่าวิ่ง แล้วจะดีจริงเสมอไป? การวิ่งเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายพื้นฐานที่ดีและง่ายที่สุด แถมยังเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เรียกได้ว่าสุขภาพดีได้ก็ด้วยการวิ่งเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้น การวิ่งเองก็มีวิธีที่ถูกและผิด ถ้าวิ่งผิดท่าทางหรือวิ่งไม่ถูกต้องตามหลัก ก็อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ซึ่งนอกจากการศึกษาเพิ่มเติมถึงหลักการวิ่งที่ถูกต้อง ในโพสนี้เองก็จะมาบอกถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นหากวิ่งผิดท่านั่นเอง ปัญหาเกิดได้จากการวิ่งแบบผิดๆ Patellofemoral pain syndrome อาการปวดบริเวณหน้าลูกสะบ้าและรอบๆหัวเข่า เกิดจากการเสียดสี, งอ-เหยียดเข่าบ่อยๆ และลงน้ำหนักหน้าเข่าเยอะกว่าปกติ Achilles Tendinitis ปวด บวม แดง หลังส้นเท้า เกิดจากน่องตึง ไม่ยืดก่อนวิ่ง กระโดดสูงซ้ำๆ Iliotibial Band Syndrome อาการปวดเข่าด้านข้างฝั่งด้านนอกเป็นซ้ำๆ เกิดจากเวลาวิ่งงอเข่าและชอบบิดเข่าเข้าด้านใน Patellar tendinitis ปวดหน้าเข่า ใต้ลูกสะบ้าไม่ทั้งเข่า เกิดจากการกระโดดเยอะ ลงน้ำหนักผิด Shin Splints ปวดอักเสบหน้าแข้ง เกิดจากการวิ่งเยอะ และเกร็งเท้าเวลาวิ่ง Plantar Fasciitis (รองช้ำ) ปวดใต้ฝ่าเท้าและส้น โดยเฉพาะก้าวแรกของวัน เกิดจากเท้าแบน วิ่งบนพื้นแข็ง เทคนิคที่ใช้หากเกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้น R.I.C.E R – […]

BOOKING

 กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
กรุณาเลือก Promotions ที่คุณสนใจ
*** สงวนสิทธิ์ 1 คน / 1 สิทธิ์