แก้ปัญหาการรับสัมพันธ์ทางเพศ
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือ (ED) ตามธรรมชาติ อวัยวะเพศแข็งตัวเมื่อมีการกระตุ้นทางเพศจากสมอง หรือประสาทสัมผัสต่างๆ ปลายประสาทที่อยู่ในอวัยวะเพศจะหลั่งสารบางอย่าง มีผลทำให้หลอดเลือดแดงภายในอวัยวะเพศขยายตัว เลือดแดงจะไหลเข้ามาในอวัยวะ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพรุนคล้ายฟองน้ำมากขึ้น ส่งผลให้อวัยวะเพศชายมีการขยายโต และยาวขึ้น และในขณะเดียวกันเลือดดำที่อยู่ขอบนอกจะถูกเบียดให้แฟบลง ยิ่งทำให้เลือดมาคั่งในอวัยวะเพศ อวัยวะเพศจึงแข็งตัวพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือโรค อี ดี (ED/ Erectile dysfunction) หมายถึง อาการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่นานพอ บางรายมีอาการหลั่งเร็ว หลั่งไว สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเหล่านี้เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศไม่เพียงพอ ปัจจุบันพบผู้ที่มีโอกาสป่วยด้วยอาการนี้สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาถึง 3 เท่า เนื่องจากการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้เพศชายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศสูงขึ้น ลักษณะอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้ แบบปฐมภูมิ คือการที่องคชาตไม่เคยแข็งตัวเต็มที่ หรือไม่แข็งพอที่จะทำให้ร่วมเพศสำเร็จเลย แบบทุติยภูมิ คือการที่องคชาตเคยแข็งตัวและร่วมเพศได้มาก่อน แต่ต่อมาเกิดความผิดปกติขึ้น ทำให้ไม่สามารถแข็งตัวเหมือนเดิม แบบชั่วคราว คือการที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเป็นครั้งคราว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในกรณีนี้ หากพบปัญหาและรีบรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถหายเป็นปกติได้ สาเหตุหลักของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เหตุทางกาย เกิดจากโรค หรือภาวะทางกายที่มีผลต่อระบบประสาท […]
Filler จิมิ : สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการปรับเสริมสุขภาพเพศ
ฟิลเลอร์น้องสาว คืออะไร การฉีด ฟิลเลอร์น้องสาว เป็นการทำศัลยกรรมตกแต่งทางนรีเวชด้วยการฉีดสารเติมเต็ม Hyaluronic Acid เพื่อที่จะเพิ่มขยายขนาดหรือเพิ่มความเต่งตึงของน้องสาว แก้ไขปัญหาขนาดของอวัยวะเพศที่เล็กลง หย่อนยาน ไม่เต่งตึงจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มขึ้น หรือการสูญเสียคอลลาเจนบริเวณอวัยวะเพศให้มีรูปร่างสวยงาม โหนกนูน อวบอิ่ม เพิ่มเสน่ห์ให้กับน้องสาวตัวเองมากยิ่งขึ้น ข้อดีของการฉีดฟิลเลอร์น้องสาวหรือช่องคลอด เติมน้ำให้ช่องคลอด เพิ่มความหล่อลื่น ฟื้นฟูน้องสาวให้เต่งตึง ฟู อวบอิ่ม ปรับแต่งช่องคลอดให้ดูสวยงาม เพิ่มความมั่นใจในการแต่งตัวและโชว์รูปร่าง ฟิลเลอร์น้องสาวหรือช่องคลอด เหมาะกับใคร ผู้ที่มีอายุมากขึ้น ช่องคลอดแห้ง แคมมีขนาดเล็กลง แคมนอกมีความหย่อนคล้อย เนื่องจากสูญเสียปริมาตรเนื้อเยื่อ ผู้ที่แคมเล็ก หรือเหี่ยวย่น ไม่สวยงามแต่กำเนิด ผู้ที่มีหัวหน่าวแบน ไม่สวยอวบอิ่ม การเตรียมตัวก่อนฉีด ฟิลเลอร์น้องสาว หากมีโรคประจำตัวหรือแพ้ยาอย่างเช่นไทรอยด์เป็นพิษ เพราะจะมีผลกับยาชา ต้องแจ้งแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาก่อนฉีดฟิลเลอร์ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดบุหรี่ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ งดรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก่อน 2 สัปดาห์ เพราะอาจมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรเข้ารับการรักษาในช่วงมีประจำเดือน การดูแลตนเองหลังฉีด ฟิลเลอร์น้องสาว งดมีเพศสัมพันธ์หลังฉีดฟิลเลอร์ 1 […]
การดูแลและฟื้นฟูสุขภาพเพศของคุณ
รีแพร์ คืออะไร ? การทำรีแพร์ (Repair) หมายถึง การซ่อมแซมหรือผ่าตัดตกแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่หย่อนยานภายในช่องคลอด ให้กับคนที่มีปัญหาช่องคลอดหลวม เป็นการกระชับช่องคลอดโดยตกแต่งให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องคลอดเล็กลง และเกิดการหดรัด ตึงกระชับได้ดีกว่าเดิม นอกจากนั้นการรีแพร์ยังรวมถึงการผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดด้วย ช่องคลอดหลวมหรือมดลูกหย่อนอาการเกิดจากอะไร ช่องคลอดหลวมหรือมดลูกหย่อนอาการ เป็นภาวการณ์หย่อนตัวของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาช่องคลอดหลวม ไม่กระชับ พบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุช่วง 40 ปีขึ้นไป และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การมีเพศสัมพันธ์มาเป็นเวลานาน การตั้งครรภ์ การคลอดบุตรหลายคน หรือคลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากและตัวใหญ่ การคลอดบุตรทางช่องคลอด และการทำคลอดที่ไม่ถูกวิธี อ้วน มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้มีแรงดันในช่องท้องมากผิดปกติ การยกของหนัก การออกแรงบ่อย ๆ หรือทำกิจกรรมที่เป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ไอเรื้อรัง ท้องผูกเรื้อรัง อายุที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อของผนังช่องคลอดเกิดความเสื่อม ก็จะทำให้เกิดภาวะหย่อนคล้อย ช่องคลอดหลวม มดลูกหย่อนอาการ และไม่กระชับ ผลกระทบจากภาวะมดลูกหย่อนอาการ ช่องคลอดไม่กระชับ มดลูกหย่อนอาการ หรือช่องคลอดหลวม เป็นอีกหนึ่งปัญหาครอบครัวที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เกิดความกังวลใจ และไม่กล้าเปิดเผยหรือทำการรักษา เมื่อเก็บปัญหาเหล่านี้ไว้ทำให้ส่งผลกระทบตามมาในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการใช้ชีวิต และปัญหาสุขภาพ […]
ตรวจระดับฟอสฟอรัสและแมกนีเซียม
แมกนีเซียมกับแคลเซียม เหมือนเป็นสิ่งคู่กันที่ทำหน้าที่ต่างๆต่อระบบร่างกายของคนเรา โดยแมกนีเซียมมีหน้าที่ควบคุมระบบประสาท และส่งสัญญาณประสาทควบคุมการหดของกล้ามเนื้อเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว ส่วนแคลเซี่ยมนั้นทำหน้าที่ตรงกันข้าม คือทำหน้าควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ หากมีปริมาณแคลเซี่ยมมากเกินไปในกล้ามเนื้อจะส่งผลให้กล้ามเนื้อหดตัวแบบไม่ปกติส่งผลให้เป็นตระคิว นอกจากนี้ ธาตุทั้งคู่ยังช่วยในการเสริมสร้างกระดูก โดยแคลเซียมช่วยในเรื่องเสริมสร้างกระดูก ส่วนแมกนีเซียมช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ฟอสฟอรัส เป็นแร่ธาตุสำคัญที่อยู่ในร่างกายปริมาณมากรองจากแคลเซียม โดยอยู่ในรูปของสารประกอบฟอสเฟต ซึ่งช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง และช่วยให้ร่างกายนำพลังงานจากอาหารออกมาใช้ แต่หากร่างกายมีระดับฟอสฟอรัสสูงหรือต่ำเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดกระดูก และป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ดังนั้น เราควรรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสในปริมาณเหมาะสมตามที่ร่างกายต้องการ ซึ่งแตกต่างกันไปตามช่วงวัยด้วย แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการทำงานของร่างกายอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท กระเพาะอาหารและลำไส้ โดยนำมารักษาและป้องกันภาวะขาดแมกนีเซียม ภาวะแมกนีเซียมในร่างกายต่ำ หรือป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขาดแมกนีเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น นอกจากนี้ อาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ด้วย ความสำคัญของฟอสฟอรัสและแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส (Phosphorus) สร้างกระดูกและฟัน: ฟอสฟอรัสมีบทบาทสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันในร่างกาย เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกและช่วยให้กระดูกแข็งแรง เมตาบอลิสม์: […]
ตรวจระดับวิตามินต่างๆ
ตรวจวิตามินในเลือดคืออะไร? การตรวจวิตามิน คือการเจาะเลือดไปวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุในร่างกาย ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ วิตามินตัวไหนที่ยังขาดอยู่และอาจนำไปสู่อาการผิดปกติในร่างกาย วิตามินและแร่ธาตุ หรือที่เรียกรวมกันว่า Micronutrients เป็นสารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการทำงานของร่างกาย โดยปกติเราจะได้รับวิตามินและสารอาหารจากพืชและเนื้อสัตว์ที่เรากิน แต่หากเรากินอาหารไม่หลากหลาย หรือไม่ครบ 5 หมู่ ก็จะเกิดภาวะขาดวิตามิน จนอาจนำไปสู่อาการผิดปกติในที่สุด ประโยชน์ของการตรวจวิตามิน การตรวจวิตามินสามารถช่วยให้เราเลือกวิตามินหรืออาหารเสริมได้เหมาะสมขึ้น หลายครั้งที่ในชีวิตประจำวันเราไม่สามารถเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ได้ จนขาดวิตามินบางชนิด การตรวจวิตามินจึงช่วยให้เราทราบได้จริงๆ ว่าร่างกายเราขาดวิตามินชนิดใดอยู่ จะได้เลือกเติมวิตามินหรืออาหารเสริมได้ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการผิดปกติที่มาสาเหตุมาจากวิตามินได้ด้วย เพราะอาการที่มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินนั้นมีหลายอย่าง และอาการเหล่านั้นก็ยังเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วย ใครควรตรวจวิตามิน การขาดวิตามินแต่ละชนิดอาจมีอาการแสดงออกหลายอย่างมาก ดังนั้นหนึ่งในวิธีทีประเมินตัวเองเบื้องต้นอาจเป็นการสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ดังนี้ ผู้ที่สงสัยว่าตนเองขาดวิตามินบี 12 (Vitamin B12) อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เกิดความสับสน เกิดอาการชาตามมือและเท้า ปวดหัว หงุดหงิด โดยเฉพาะคนที่มีภาวะโลหิตจาง อาจมีแนวโน้มที่จะขาดวิตามินบี 12 มากกว่าผู้อื่น ผู้ที่สงสัยว่าตนเองขาดวิตามินดี (Vitamin D) อาจป่วยง่าย อ่อนเพลีย ปวดหลัง ปวดกระดูก […]
ตรวจระดับเกลือแร่
วิตามินเป็นสิ่งที่ร่างกายของเราต้องการเป็นประจำในทุก ๆ วัน ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เราทานวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป เพราะร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน วิตามินที่วางขายตามท้องตลาดจึงอาจไม่เหมาะสมต่อสุขภาพสำหรับทุกคน ดังนั้นการตรวจเช็กสุขภาพโดยวิเคราะห์จากเลือด เพื่อเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับเราเป็นสิ่งที่จำเป็น วิตามินเป็นสิ่งที่ร่างกายของเราต้องการเป็นประจำในทุก ๆ วัน ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เราทานวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป เพราะร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน วิตามินที่วางขายตามท้องตลาดจึงอาจไม่เหมาะสมต่อสุขภาพสำหรับทุกคน ดังนั้นการตรวจเช็กสุขภาพโดยวิเคราะห์จากเลือด เพื่อเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับเราเป็นสิ่งที่จำเป็น การตรวจวัดระดับสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ สำคัญอย่างไร? สามารถนำผลการตรวจไปวิเคราะห์ว่าร่างกายของเรานั้นขาดวิตามินอะไร และวิตามินที่เราทานในแต่ละวันนั้น ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ และสามารถนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ร่างกายต้องการได้อย่างตรงจุด เพื่อนำมาสู่การวางแผนดูแลสุขภาพตั้งแต่การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหาร การฟื้นฟูที่เหมาะสมแต่ละบุคคล หรือนำข้อมูลมาออกแบบอาหารเสริมเฉพาะบุคคล (Customized Supplements) ในการรักษาระดับสารอาหารต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ การตรวจวัดระดับสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ ทำอย่างไร? การตรวจวัดระดับสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินรวมถึงเกลือแร่ในร่างกาย และวิเคราะห์ผลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine) พร้อมออกแบบวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระเฉพาะบุคคล (Personalized Compounding Supplement) […]
ตรวจปริมาณโปรตีน
การตรวจ Total Protein (ปริมาณโปรตีนรวมในกระแสเลือด) คืออะไร ? Total protein คือ ปริมาณโปรตีนรวมในกระแสเลือด (ตามปกติจะเป็นค่าผลรวมของ Prealbumin, Albumin และ Globulin) ซึ่งควรจะมีปริมาณให้เพียงต่อการใช้พอดี ๆ ในกรณีที่มีน้อยเกินไปหรือมากเกินไปก็ย่อมแสดงถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย ทำไมต้องตรวจ Total protein ตรวจเพื่อให้ทราบค่าปริมาณของโปรตีนรวมในกระแสเลือดว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ เพราะปริมาณรวมของโปรตีนในกระแสเลือดผลิตขึ้นมาจากตับ จึงอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวะการทำงานของตับหรือของโรคเกี่ยวกับตับและโรคอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับไต โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคขาดสารอาหาร ฯลฯ กล่าวโดยสรุปก็คือ ตรวจเพื่อให้รู้ว่าอาหารที่บริโภคประจำมีโปรตีนซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงหรือไม่ เพียงใด บ่งชี้ว่าในขณะนั้นตับ/ไตมีสภาพปกติหรือไม่ ตรวจเพื่อหาข้อมูลว่าตับมีโรคใด ๆ อยู่บ้างหรือไม่ ค่าปกติของ Total protein ค่าปกติของ Total protein ให้ยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) แต่ถ้าไม่มีให้ยึดตามค่าปกติทั่วไป คือ ค่าปกติของ Total protein ในผู้ใหญ่ คือ 6.4 – […]
ตรวจกรดยูริคเพื่อดูภาวะโรคเก๊าท์
โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อฉับพลัน ข้อแข็ง และบวม ส่วนมากมักเป็นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของโรคเกาต์ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นและอาจเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออื่นๆ ได้ สาเหตุของโรคเกาต์ โรคเกาต์เกิดจากร่างกายขจัดกรดยูริก (Uric acid) ออกไม่หมด จึงมีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ เรียกว่า “ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia)” เมื่อระยะเวลาผ่านไป กรดยูริกจะเกิดการตกตะกอน สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะกระตุ้นกระบวนการในระบบภูมิคุ้มกัน และก่อให้เกิดการอักเสบได้ กรดยูริกคืออะไร? กรดยูริกเป็นสารที่เกิดจากร่างกาย โดยร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองถึง 80% ส่วนอีก 20% ที่เหลือ ได้มาจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนเข้าไป โดยสารพิวรีนสามารถพบได้ในอาหารจำพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง กรณีที่ร่างกายมีกรดยูริกมากเกินไป ร่างกายจะขับกรดยูริกที่เกินความจำเป็นทางปัสสาวะ แต่ในร่างกายของบางคนไม่สามารถขับกรดยูริกออกไปได้หมดจึงเกิดการสะสมกรดยูริก โดยเฉพาะบริเวณกระดูก ผนังหลอดเลือด และไต หากร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกไปได้หมด เมื่อระยะเวลาผ่านไป จะเกิดการตกตะกอนของกรดยูริกเป็นจำนวนมาก และทำให้กลายเป็นโรคเกาต์นั่นเอง ใครบ้างเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ มีแนวโน้มที่จะพบโรคเกาต์ในเครือฐาติ นั่นคือ ผู้มีที่กรดยูริคในเลือดสูง และมีญาติสายตรงเป็นโรคเกาต์ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงกว่าผู้ที่มีกรดยูริคในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว […]
ตรวจการทำงานของตับเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี
ตับ ของคนเรานั้นเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม แบ่งเป็น 2 ส่วน เรียกว่า ตับกลีบซ้ายและตับกลีบขวา ทำหน้าที่สะสมสารอาหาร น้ำตาล เพื่อช่วยในการยังชีพและเติบโตของเซลล์ ต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งมีการทำลายเชื้อแบคทีเรีย สารพิษต่าง ๆ และเปลี่ยนสภาพยาที่กินเข้าไปเพื่อให้ออกฤทธิ์ต่ออวัยวะที่ต้องการ หน้าที่ต่าง ๆ ของตับจะอาศัยการทำงานของเซลล์ตับ ซึ่งมีหน้าที่หลากหลาย ดังนี้ ผลิตน้ำดี ซึ่งจัดเป็นหน้าที่หลักของเซลล์ตับ ควบคุมเมแทบอลิซึมของสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ การสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสจากกรดอะมิโน กรดแลคติค หรือกลีเซอรอล การสลายโมเลกุลของไกลโคเจน เพื่อผลิตน้ำตาลกลูโคสออกสู่กระแสเลือด การสร้างไกลโคเจนจากน้ำตาลกลูโคส ควบคุมเมแทบอลิซึมของไขมัน โดยเฉพาะการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ผลิตสารที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factors) แปรรูปโมเลกุลของฮีโมโกลบินที่ได้จากการทำลายเม็ดเลือด แดงที่หมดอายุจากม้าม เพื่อสร้างเป็นรงควัตถุน้ำดี (bile pigments) เช่น บิลิรูบิน (bilirubin) และบิลิเวอดิน (bilivedin) แปรสภาพสารพิษและยาต่างๆให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับถ่ายออกไปได้ เปลี่ยนแอมโมเนียที่เกิดจากการสลายโปรตีนให้เป็นยูเรีย เพื่อนำออกทางปัสสาวะ […]
ตรวจการทำงานของไตเพื่อสุขภาพที่ดี
ไต (Kidneys) คือ หนึ่งในอวัยวะภายในของมนุษย์ มีลักษณะเป็นเมล็ดถั่วเหลืองขนาดเล็กเท่ากำปั้น อยู่คู่กันระหว่างผนังลำตัวของกระดูกสันหลังช่วงเอว เป็นส่วนประกอบสำคัญในการช่วยปรับความสมดุลสารต่าง ๆ ที่มีปริมาณมากเกินความต้องการต่อร่างกายนั้น ให้ถูกขับออกไปเป็นรูปแบบของเหลวในช่องทางเดินน้ำปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ ไตทำหน้าที่อะไรบ้าง ไต จะมีการแบ่งหน้าที่หลัก ๆ 3 อย่าง ได้แก่ การคัดกรองของเสียออกจากเลือดไปในรูปแบบน้ำปัสสาวะ การปรับสมดุลน้ำ-เกลือแร่ในร่างกาย และการผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิตินภายในไต การคัดกรองของเสียภายในไต มักจะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายไม่ว่าจะเป็นสารเคมี วิตามินหรือเกลือแร่ที่เกินต่อความจำเป็นต่อร่างกาย และการเผาผลาญจากสารอาหาร (Metabolism) ที่มีสารโปรตีนเกินความต้องการให้ถูกแปรเป็นของเหลวที่มีชื่อว่า ยูเรีย (Urea) ถูกขับไปในน้ำปัสสาวะ การปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะช่วยรักษาความสมดุลของเกลือแร่และธาตุภายในร่างกายให้คงที่ ปรับอุณหภูมิภายในร่างกายอยู่ในระดับปกติ อีกทั้งควบคุมการรักษาความสมดุลของกรดและด่างในเลือดไม่ให้สูง-ต่ำจนเกินไป การผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) ฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นส่วนของไขสันหลังกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาหล่อเลี้ยงไปตามเนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไต สาเหตุและปัจจัยหลักที่ทำให้ไตมีการทำงานผิดปกติจนก่อให้เกิดโรคไต ได้แก่ กรรมพันธุ์ – ประวัติคนในครอบครัวมีโรคแทรกซ้อนที่สร้างผลกระทบให้ไตมีการทำงานผิดปกติได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต้เรื้อรัง อายุที่เพิ่มมากขึ้น – ทำให้ไตในภาวะที่ถูกใช้งานเป็นเวลานานมีการทำงานที่เสื่อมสภาพลง พฤติกรรมการบริโภค – การรับประทานอาหารที่มีรสจัดจ้านมากเกินไป เช่น ทานเค็ม หวาน […]