รู้หรือไม่? “หมอนรองข้อเข่า” นั้นสำคัญไฉน…
หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ หรือไม่รู้ว่าหมอนรองข้อเข่า (Meniscus) คืออะไร ? มันคือ “ตัวกันกระแทก” สำคัญของข้อเข่าที่ช่วยให้เราเดิน วิ่ง ย่อ–เหยียด ได้อย่างลื่นไหลโดยไม่เจ็บ
หมอนรองข้อเข่าเปรียบเหมือน “โช้คอัพ” ของร่างกายหากฉีกขาดหรือสึกหรอ อาจทำให้เกิดอาการปวด บวมหรือแม้กระทั่งส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย!
หลายคนยังไม่รู้ตัวว่าปัญหาข้อเข่าที่กำลังเจออาจมีต้นตอมาจากหมอนรองที่สึกหรือฉีกโดยไม่รู้ตัว
หมอนรองข้อเข่า คืออะไร ? ลักษณะแบบไหน ?
หมอนรองข้อเข่า (Meniscus) คือ กระดูกอ่อนรูปตัว “C” ที่อยู่ระหว่างกระดูกต้นขา (femur) และกระดูกหน้าแข้ง (tibia) มีอยู่ 2 ชิ้นในเข่าแต่ละข้าง คือ
- Medial Meniscus – ด้านในของข้อเข่า
- Lateral Meniscus – ด้านนอกของข้อเข่า
หน้าที่ของหมอนรองข้อเข่า
- รองรับแรงกระแทก จากการเดิน วิ่ง หรือกระโดด
- กระจายน้ำหนัก ลดแรงกดเฉพาะจุดในข้อเข่า
- ช่วยให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้ลื่นไหล
- ป้องกันการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ
- ช่วย เพิ่มความมั่นคงให้ข้อเข่า
หมอนรองข้อเข่าฉีกขาดเป็นยังไง?
โดยปกติแล้ว หมอนรองข้อเข่า (Meniscus) ซึ่งทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกและเพิ่มความมั่นคงให้ข้อเข่า จะไม่ฉีกขาดง่าย ๆ จากกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อมีการใช้งานเข่าอย่างรุนแรงหรือผิดท่า อาจทำให้เกิดการฉีกขาดได้
พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด
- การบิดหรือหมุนเข่าอย่างแรงขณะเล่นกีฬา
เช่น การเปลี่ยนทิศทางหรือหมุนตัวอย่างรวดเร็วในกีฬาฟุตบอล, บาสเกตบอล, หรือเทนนิส ซึ่งทำให้หมอนรองข้อเข่ารับแรงกดที่ผิดทิศทาง
- การยกของหนักโดยงอเข่าผิดท่า
การยกของหนักโดยไม่ใช้กล้ามเนื้อขาและเข่าช่วยเสริมแรง อาจทำให้หมอนรองข้อเข่าได้รับแรงกระแทกจากการดึงหรือการบิดตัวขณะยกของ
- การนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในท่าที่ไม่เหมาะสม
การนั่งในท่าที่ผิดเพี้ยนในระยะเวลานาน ๆ เช่น นั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิจะทำให้ข้อเข่ากดทับหนักและส่งผลต่อหมอนรองเข่าในระยะยาว
- การเดินขึ้น–ลงบันไดบ่อย ๆ หรือทางลาดชัน
การเคลื่อนไหวที่ต้องรับน้ำหนักของตัวเองในตำแหน่งที่ไม่สมดุล อาจเพิ่มแรงกดที่เข่าทำให้หมอนรองข้อเข่าฉีกได้ง่าย
- การใส่รองเท้าที่ไม่มีการรองรับที่ดี (เช่น รองเท้าส้นสูง, รองเท้าพื้นแข็ง)
รองเท้าที่ไม่เหมาะสมจะทำให้แรงกระแทกจากการเดินหรือวิ่งส่งผ่านข้อเข่ามากขึ้น
- น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
การมีน้ำหนักตัวมากเกินไปเพิ่มแรงกดที่ข้อเข่า ส่งผลให้หมอนรองข้อเข่าทำงานหนักขึ้นและมีโอกาสฉีกขาด
- เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวรุนแรงโดยไม่ยืดกล้ามเนื้อก่อน
การไม่มีการวอร์มอัพหรือยืดกล้ามเนื้อก่อนทำกิจกรรมเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บหรือหมอนรองข้อเข่าฉีก
- การประสบอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บซ้ำ ๆ ที่เข่า
เช่น การหกล้ม การโดนกระแทกที่เข่าหรือการได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายซ้ำ ๆ ซึ่งอาจทำให้หมอนรองข้อเข่าฉีกขาดได้
เมื่อหมอนรองข้อเข่าฉีกขาด อาจเริ่มมีอาการปวดเฉพาะจุด เข่าบวม หรือรู้สึกขัด ๆ เวลาขยับ
หากปล่อยไว้โดยไม่ดูแลอย่างถูกวิธี อาจนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมในระยะยาวได้
สัญญาณแบบไหนคือ "หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด" ?
- ปวดแปลบในข้อเข่าทันทีหลังบิด/หมุนเข่าหรือมีอุบัติเหตุ
- รู้สึก “ติดขัด” ในข้อเข่า ไม่สามารถเหยียด/งอเข่าได้สุด
- ข้อเข่าบวมภายในไม่กี่ชั่วโมง
- รู้สึกเหมือน “เข่าหลวม” หรือ “เข่าไม่มั่นคง”
- มีเสียง “กึก” หรือ “ดังเป๊าะ” ในข้อเข่าเวลาขยับ
แม้บางคนที่มีหมอนรองข้อเข่าฉีกขาดจะ ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น เดินได้ ออกกำลังกายเบา ๆ ได้ แต่เมื่อทำกิจกรรมต่อเนื่องนาน ๆ เช่น เดินไกล วิ่ง หรือยืนเป็นเวลานานกลับเริ่มรู้สึกว่า…
- ข้อเข่าบวม
- เข่าอ่อนแรง
- หรือเข่าทรุดลงโดยไม่รู้ตัว
อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณว่า มีการเสียดสีหรือการอักเสบเรื้อรังในข้อเข่า แหากไม่ได้รับการดูแล อาจนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ
หากคุณมีอาการแบบนี้บ่อยครั้ง อย่ารอให้เข่าเสียหายมากกว่านี้แม้อาการหมอนรองข้อเข่าฉีกขาดในระยะแรกจะดูไม่รุนแรง
แต่หากละเลย อาการบวม ปวด หรือเข่าอ่อนแรง
อาจลุกลามจนกระทบการเดิน หรือทำให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้!
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ที่ Kloss Wellness Clinic
เรามีโปรแกรมฟื้นฟูเฉพาะบุคคล โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยและไม่ต้องผ่าตัด
ให้คุณกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง!
————————————————-
++จองคิวปรึกษาปัญหาสุขภาพ
ได้ที่ 𝐊𝐥𝐨𝐬𝐬 𝐖𝐞𝐥𝐥𝐧𝐞𝐬𝐬 𝐂𝐥𝐢𝐧𝐢𝐜 ทั้ง 3 สาขา
สาขาเสรีไทย : 099-265-2495
สาขาเมืองทองธานี : 099-246-3691
สาขาบางนา : 094-559-4939
LINE ID : @kimc289 (มี @)