ข้อเข่าเสื่อม…ไม่ใช่แค่ “คนแก่” เท่านั้นที่ต้องระวัง

Facebook

หลายคนเข้าใจผิดว่า “ข้อเข่าเสื่อม” จะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง กลุ่มคนวัยทำงานหรือแม้แต่วัยรุ่น ก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน!

แม้จะยัง “อายุน้อย” แต่หากมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อ ก็สามารถเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ไม่ต่างกัน และหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน มาดูกันว่ากลุ่มเสี่ยงใดบ้างที่ต้องระวัง

1.พันธุกรรมเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

หากในครอบครัวของคุณมีคนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น พ่อแม่หรือญาติใกล้ชิด ก็จะมีโอกาสที่คุณจะเป็นโรคนี้สูงขึ้น พันธุกรรมสามารถส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ รวมถึงข้อเข่าเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก

2.ผู้ที่มีเข่าหรือขาผิดรูปแต่กำเนิด

ผู้ที่มีโครงสร้างข้อเข่าผิดปกติ เช่น ขาโก่ง หรือขาบิดอาจมีการรับน้ำหนักที่ผิดปกติและไม่สมดุล การกระจายน้ำหนักไม่เท่ากันจะทำให้หมอนรองข้อเข่าหรือกระดูกอ่อนในข้อเข่าสึกหรอได้ง่ายและเร็ว ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของข้อเข่า

3.ผู้ที่มีโรคข้ออักเสบเรื้อรัง

 โรคข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์, SLE , หรือเก๊าท์ เป็นโรคที่สามารถทำลายข้อต่อและกระดูกอ่อนในข้อเข่าได้ อาการอักเสบที่เกิดขึ้นจากโรคเหล่านี้สามารถเร่งกระบวนการของข้อเข่าเสื่อมได้อย่างรวดเร็ว แม้จะยังไม่ถึงอายุที่คาดว่าจะเป็น

4..ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลง ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยรักษาความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ การขาดฮอร์โมนนี้จะทำให้ข้อเข่ารับแรงกดได้ไม่ดีเท่าก่อนและเสื่อมได้เร็วขึ้น

5.ทำกิจกรรมใช้ข้อเข่าอย่างหักโหม

 นักกีฬา หรือผู้ที่มีอาชีพที่ต้องใช้ข้อเข่าอย่างหนัก เช่น ผู้ยกของหนัก หรือผู้ที่ต้องยืนหรือนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ข้อเข่าได้รับการใช้งานหนักเกินไป โดยเฉพาะการกระแทกหรือการหมุนตัวอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้หมอนรองข้อเข่าหรือกระดูกในข้อเข่าบาดเจ็บและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

6.ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บบริเวณเข่า

การได้รับบาดเจ็บจากการหกล้มหรืออุบัติเหตุที่ข้อเข่ามีโอกาสที่จะทำให้กระดูกอ่อนในข้อเข่าเสียหายได้ การบาดเจ็บเหล่านี้อาจทำให้เกิดการเสื่อมของข้อเข่าในภายหลัง หรือทำให้กระดูกและหมอนรองข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น เนื่องจากได้รับแรงกระแทกที่ผิดทิศทาง

7.ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ (BMI > 25)

 น้ำหนักตัวที่มากเกินไปมีผลต่อการรับน้ำหนักที่ข้อเข่าและกระดูก ข้อเข่าต้องรับแรงกดจากน้ำหนักตัวที่มาก ซึ่งทำให้เสื่อมได้เร็วขึ้น ความดันที่เพิ่มขึ้นในข้อเข่าส่งผลให้เกิดการสึกหรอของกระดูกและหมอนรองข้อเข่าในระยะยาว

คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงไหนบ้าง ? ลองสังเกตุตัวเองดูนะคะ  หากเริ่มมีอาการแล้ว รีบฟื้นฟูตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีที่สุด

เพราะ “ข้อเข่า” ไม่มีอะไหล่เปลี่ยนได้ง่ายเหมือนรถยนต์!

📞 ปรึกษาเราได้ที่ Kloss Wellness Clinic

เราพร้อมดูแลคุณอย่างตรงจุด และปลอดภัยในระยะยาว

👨‍⚕ โทรปรึกษาฟรี! รีบนัดคิวก่อนข้อเสื่อมหนัก

——————————————

++จองคิวปรึกษาปัญหาสุขภาพ

ได้ที่ 𝐊𝐥𝐨𝐬𝐬 𝐖𝐞𝐥𝐥𝐧𝐞𝐬𝐬 𝐂𝐥𝐢𝐧𝐢𝐜 ทั้ง 3 สาขา

สาขาเสรีไทย : 099-265-2495

สาขาเมืองทองธานี : 099-246-3691

สาขาบางนา : 094-559-4939

LINE ID : @kimc289 (มี @)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Kloss Wellness Clinic มี 3 สาขา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

BOOKING

 กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
กรุณาเลือก Promotions ที่คุณสนใจ
*** สงวนสิทธิ์ 1 คน / 1 สิทธิ์