ปวดหลัง

ออฟฟิศซินโดรม (OFFICE SYNDROME)

    การทำงานอยู่บ้านหรือที่เราเรียกกันว่า Work From Home นั้น มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค Office Syndrome ไม่ต่างจากการนั่งทำงานที่ออฟฟิศ เนื่องจากการทำงานที่บ้านเรามีโอกาสขยับร่างกายน้อยกว่าการทำงานในออฟฟิศ แถมบางครั้งต้องนั่งประชุมหรือทำงานผ่านหน้าจอตลอดทั้งวัน เก้าอี้ โต๊ะที่ใช้ทำงานที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เป็น Office Syndrome

    ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคำว่า “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่ทำงานในออฟฟิศและกลุ่มที่ทำงานอยู่บ้านหรือที่เราเรียกกันว่า Work From Home นั้น มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค Office Syndrome ไม่ต่างจากการนั่งทำงานที่ออฟฟิศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรมสูง “Office Syndrome” กลุ่มอาการที่พบบ่อยเพราะพฤติกรรมในการทำงาน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและสภาพร่างกาย อาจทำให้เราละเลยสัญญาณเตือนของอาการออฟฟิศซินโดรม จากอิริยาบถในเวลาทำงาน การนั่งหลังค่อม นั่งทำงานหน้าจอคอมนานๆ แม้กระทั่งความเครียด ปัญหาเหล่านี้เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คืออะไร?

    ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง เกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงานที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องนานๆทั้งในขณะนั่ง ยืน เดิน ทำงาน เช่น การนั่งหรือยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ หรือยกไหล่ ก้มคอมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยหรือชาตามบริเวณต่างๆซึ่งลักษณะเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายหลายระบบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ระบบอื่นของร่างกายอาจได้รับผลกระทบจากการนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

อาการออฟฟิศซินโดรม ที่พบได้บ่อยดังนี้

  • ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด: เป็นกลุ่มอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรม โดยจะเริ่มจากมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ส่วนหลัง และสะโพก และมักจะเป็นเรื้อรังไม่หายขาด
  • เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ:เกิดขึ้นจากมีพังผืดบริเวณข้อมือ (ด้านฝ่ามือ) ทำให้เส้นประสาทบริเวณนั้นถูกกดทับ เกิดอาการปวดและชาที่นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือแขน
  • นิ้วล็อค:เกิดจากการออกแรงที่นิ้วมือมาก ๆ และบ่อยครั้ง  ทำให้เกิดการเสียดสีจนอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นของนิ้วมือ มักพบอาการนี้ในกลุ่มคนที่ทำงานเป็นแม่บ้าน
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ:เกิดการบวมหรือเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ มักเป็นบริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเท้า เข่า และข้อมือ ซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุ การกระแทก การใช้งานรุนแรง หรือการใช้งานที่บ่อยครั้งเกินไป ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณที่มีอาการ
  • อาการตาแห้ง:เกิดจากต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ โดยสาเหตุอาจมาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมือถือนานเกินไป
  • อาการปวดตา:เนื่องจากจ้องหน้าจอหรือมือถือนานเกินไปโดยไม่ได้พักสายตา ซึ่งในหลาย ๆ ครั้ง อาการปวดตามักก่อให้เกิดอาการปวดหัวตามมาได้
  • อาการปวดหัว:อาการปวดหัวจากออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการลุกลามของปัญหากล้ามเนื้อบริเวณบ่าที่ตึง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงส่วนหัวได้สะดวก หรือบางครั้งอาจเกิดจากอาการปวดตาหรือตาแห้ง แล้วร้าวไปถึงหัวได้ บางคนอาจรุนแรงเป็นอาการปวดหัวไมเกรน
  • อาการปวดหัว:อาการปวดหัวจากออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการลุกลามของปัญหากล้ามเนื้อบริเวณบ่าที่ตึง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงส่วนหัวได้สะดวก หรือบางครั้งอาจเกิดจากอาการปวดตาหรือตาแห้ง แล้วร้าวไปถึงหัวได้ บางคนอาจรุนแรงเป็นอาการปวดหัวไมเกรน

สาเหตุของโรค “ออฟฟิศซินโดรม”

    หลายคนอาจจะสงสัยว่า งานในออฟฟิศโดยส่วนใหญ่เป็นงานที่ไม่ต้องใช้แรง ไม่ต้องไปยกของหนัก นั่งทำงานในห้องแอร์ ปัญหาเรื่องปวดกล้ามเนื้อน่าจะมีน้อย แต่จริงๆแล้วอาการปวดกล้ามเนื้อของคนที่ทำงานในออฟฟิศเกิดจากการที่ไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ ต้องอยู่ในท่าเดิมเกือบตลอดเวลา ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆเป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องแล้วยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้ เช่น

  • สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่นโต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่เหมาะกับโครงสร้างของร่างกาย เป็นต้น
  • สภาพร่างกายอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียง การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา เป็นต้น
  • ท่าทางการทำงาน (Poster) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง
  • การบาดเจ็บจากงานซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำ ๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
  • สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน

ใครที่เสี่ยงจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

  • ผู้ที่ทำงานในออฟฟิศหรือทำงานที่บ้าน กลุ่มที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายเวลาทำงานเป็นเวลานานๆ หรือผู้ที่ต้องทำงานลักษณะเดิมต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน เช่น นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ต่อเนื่อง ไม่ได้ลุกไปไหน หรือนั่งทำบัญชีเร่งด่วนตอนปลายเดือน
  • ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น ออฟฟิศแออัด อากาศไม่ถ่ายเท โต๊ะเก้าอี้ไม่เหมาะกับสรีระ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ พอรักษาหรือยืดกล้ามเนื้อแล้ว อาการก็ดีขึ้นชั่วคราว แต่สักพักก็กลับมาเป็นอีก มักมีอาการบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ต้นคอ สะบัก ส่วนหลัง
  • มีอาการปวดร้าวไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ปวดร้าวไปที่ไหล่หรือแขน ปวดร้าวลงขา สัมพันธ์กับท่าทางของเรา
  • ผู้ใช้แรงงานเป็นประจำ กลุ่มนักกีฬาหรือผู้ที่ต้องเล่นกีฬาเป็นประจำ อาการทางกล้ามเนื้อหรือกระดูกอาจจะมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกของผิดท่า การกระชากกล้ามเนื้อเร็วเกินไป การออกแรงมากเกินไป หรือต้องแบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกได้รับบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

  • การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม
  • ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่ทำงานของคุณ โดย จอคอมพิวเตอร์แนวตรงกับหน้า และอยู่เหนือกว่าระดับสายตาเล็กน้อย และตั้งห่างเท่ากับความยาวแขน ปรับเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางพื้นได้พอดี แป้นพิมพ์ทำมุม 90 องศากับระดับข้อศอก
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน คอยยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน คอยเปลี่ยนอริยาบถเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย
  • หากจำเป็นต้องทำงานที่หน้าจอคอมพิมเตอร์นาน ๆ ควรพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 10 นาที
  • เข้ารับการทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม หรือนวด เพื่อลดความเสี่ยง และลดอาการออฟฟิศซินโดรม

วิธีการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

  • รักษาด้วยยา
  • ทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัดตามความเหมาะสมของอาการเช่น อัลตร้าซาวด์ เลเซอร์รักษา การกระตุ้นไฟฟ้า และการประคบร้อน การยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • การรักษาด้วยเซลล์บำบัด โดยการฉีดยาเข้าไปในจุดที่เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมเพื่อรักษาในระดับเซลล์
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และพักผ่อนให้เพียงพอการปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน ท่าทางการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้องตามอิริยาบถ

ใครที่เสี่ยงจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

  • ผู้ที่ทำงานในออฟฟิศหรือทำงานที่บ้าน กลุ่มที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายเวลาทำงานเป็นเวลานานๆ หรือผู้ที่ต้องทำงานลักษณะเดิมต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน เช่น นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ต่อเนื่อง ไม่ได้ลุกไปไหน หรือนั่งทำบัญชีเร่งด่วนตอนปลายเดือน
  • ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น ออฟฟิศแออัด อากาศไม่ถ่ายเท โต๊ะเก้าอี้ไม่เหมาะกับสรีระ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ พอรักษาหรือยืดกล้ามเนื้อแล้ว อาการก็ดีขึ้นชั่วคราว แต่สักพักก็กลับมาเป็นอีก มักมีอาการบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ต้นคอ สะบัก ส่วนหลัง
  • มีอาการปวดร้าวไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ปวดร้าวไปที่ไหล่หรือแขน ปวดร้าวลงขา สัมพันธ์กับท่าทางของเรา
  • ผู้ใช้แรงงานเป็นประจำ กลุ่มนักกีฬาหรือผู้ที่ต้องเล่นกีฬาเป็นประจำ อาการทางกล้ามเนื้อหรือกระดูกอาจจะมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกของผิดท่า การกระชากกล้ามเนื้อเร็วเกินไป การออกแรงมากเกินไป หรือต้องแบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกได้รับบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

แนวทางการรักษา “ออฟฟิศซินโดรม” กับ Kloss Clinic

      การรักษากลุ่มอาการ “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” นั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้ง การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อรักษาปวดหลังเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น

  อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยวิธีการที่ดีที่สุดและง่ายที่สุดที่จะป้องกันอาการจาก “Office Syndrome” ได้นั้นคือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ลดอาการบาดเจ็บจากการทำงานและเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร แต่หากอาการปวดรุนแรงมากขึ้น หรืออาการปวดเกิดขึ้นแม้แต่ตอนที่ไม่ได้ทำงาน นอกจากการรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจจำเป็นต้องรักษาโดยการใช้ยา การใช้วิธีการทางกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด นอกเหนือจากการรักษาที่กล่าวมาแล้วในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาอาการปวดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ดังนี้

  • การรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound Combined) หรือ การรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงร่วมกับกระแสไฟฟ้า คือการที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและเกิดความร้อนลึก ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัว – คลายตัวสลับกันไปมา จึงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นคลายตัวลง และอาการเจ็บปวดลดลงหลังการรักษาโดยคลื่นสามารถลงไปได้ถึง 2- 5 cm.
    • เหมาะสำหรับผู้ที่ ผู้ป่วยกลุ่ม Office Syndrome ระยะแรก มีอาการ กล้ามเนื้อ-เอ็นอักเสบ ปวดรองช้ำ นิ้วล็อค ไหล่ติด เข่าเสื่อม
  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทกพลังงานสูง (Shockwave Therapy) คือการรักษาที่ทำให้เกิดการจัดเรียงตัวใหม่ของเนื้อเยื่อ และพังผืดที่หดรั้ง ช่วยลดอาการปวด และอาการอักเสบเรื้อรังของเอ็นและกล้ามเนื้อ จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ต้องการลดระยะเวลาในการรักษาให้สั้นลง
    • เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บเรื้อรังมาเป็นเวลานาน และไม่ต้องการรักษาเป็นเวลานาน ซึ่งช่วยรักษาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

    นอกจากนี้แพทย์และนักกายภาพบำบัดจะให้การประเมิน และแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายบำบัด และการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง หากยังมีอาการปวดมากแพทย์อาจพิจารณาทำการรักษาโดยการใช้เซลล์บำบัด หรือฉีดยาเข้าเฉพาะจุด ซึ่งเรามีโปรแกรมการรักษาดังนี้

  • PRP ลดการอักเสบเร่งการซ่อมแซมกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่
  • การรักษาด้วยเกล็ดเลือด (Platelet Rich Plasma) คือ การรักษาด้วย Platelet Rich Plasma หรือ PRP เป็นการรักษาโดยใช้เลือดของผู้เข้ารับการรักษาเอง 100% เพื่อนำมาปั่น จึงไม่เกิดการแพ้หรือผลข้างเคียง แล้วเเยกชั้นเฉพาะส่วนของเกล็ดเลือดที่อุดมไปด้วย Growth Factor นำกลับมาฉีดที่จุดที่มีอาการปวดหรืออักเสบเพื่อลดอาการปวดและอักเสบเป็นหลักของกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ของผู้รับการรักษา
  • การรักษาด้วยเกล็ดเลือด (Platelet Rich Plasma) คือ การรักษาด้วย Platelet Rich Plasma หรือ PRP เป็นการรักษาโดยใช้เลือดของผู้เข้ารับการรักษาเอง 100% เพื่อนำมาปั่น จึงไม่เกิดการแพ้หรือผลข้างเคียง แล้วเเยกชั้นเฉพาะส่วนของเกล็ดเลือดที่อุดมไปด้วย Growth Factor นำกลับมาฉีดที่จุดที่มีอาการปวดหรืออักเสบเพื่อลดอาการปวดและอักเสบเป็นหลักของกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ของผู้รับการรักษา
  • ในการรักษาอาจจะใช้ PRP ร่วมกับ Healing X  Factor ในการรักษา ซึ่งจะเพิ่มการกระตุ้นการซ่อมแซมระบบกล้ามเนื้อและหลอดเลือดให้กับผู้ป่วย Office Syndrome ได้เร็วกว่าการใช้ PRP หรืเกร็ดเลือดเพีนงอย่างเดียว  

โปรแกรมคลินิก

BOOKING

 กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
กรุณาเลือก Promotions ที่คุณสนใจ
*** สงวนสิทธิ์ 1 คน / 1 สิทธิ์